ประวัติท่ารำเพลงสี่บท(พระทอง)

ประวัติท่ารำเพลงสี่บท(พระทอง)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติท่ารำสี่บทพระทอง
 ระบำสี่บทเป็นระบำที่ยกย่องกันมาแต่โบราณ สันนิฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏเด่นชัด แต่ละบทนั้นจะมีทำนองเพลงและการขับร้องที่แตกต่างกันออกไป  ผู้แสดงจะรำไปตามทำนองเพลง และแสดงกิริยาท่าทางตามบทร้องที่ปรากฏอยู่ในแต่ละเพลง  เหตุที่เรียนระบำชุดนี้ว่าระบำสี่บท ก็เนื่องจากมีบทร้องทั้งหมด 4 บทด้วยกัน และมีทำนองเพลงแตกต่างกัน 4 เพลง  ระบำสี่บทเป็นระบำมาตรฐานซึ่งประกอบด้วยบทร้องและทำนอง ได้แก่
  1.   พระทอง
  2.   เบ้าหลุด
  3.   สระบุหร่ง
  4.   บลิ่ม           
          รวมเรียกว่า “ระบำสี่บท” ระบำชุดนี้ยกย่องกันว่าเป็นระบำแบบฉบับ เรียกว่า“ระบำใหญ่” มักจะนำไปประกอบการแสดงโขน เช่น ระบำเทพบุตรนางฟ้าในตอนต้นของชุด “นารายณ์ปราบนนทุก” หรือชุด “เมขลา –รามสูร” หรือในตอนแสดงความยินดีเมื่อผู้ทรงฤทธิ์ได้ปราบอสูรและยักษ์ร้ายพ่ายแพ้ไป

การแต่งกายระบำสี่บท
   การแต่งกาย จะแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง  

บทร้องระบำสี่บทและท่ารำ
            ระบำชุดนี้มีท่ารำสวยงามน่าชม แต่เดิมบทร้องและทำนองเพลงนั้นค่อนข้างยืดยาว และกินเวลาแสดงนานมาก มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ตัดตอนบทร้องให้สั้น ตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ดังต่อไปนี้



ปี่พาทย์ทำเพลงโคมเวียน
เพลงพระทอง
                     เมื่อนั้น                                        ฝ่ายฝูงเทวาทุกราศี
            ทั้งเทพธิดานารี                                      สุขเกษมเปรมปรีดิ์เป็นสุด
            เทพบุตรจับระบำทำท่า                             นางฟ้ารำฟ้อนอ่อนจริต
            รำเรียงเคียงเข้าไปให้ชิด                           ทอดสนิทติดพันกัลยา
            แล้วตีวงเวียนเปลี่ยนซ้าย                          ไล่ตีวงเวียนเปลี่ยนขวา
            ตลบหลังลดเลี้ยวลงมา                             เทวัญกัลยาสำราญใจ

อ้างอิง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นาฏยศัพท์ทางนาฏศิลป์ไทย